7.11.08
รับมืออาการแพ้ของผิว
รับมืออาการแพ้ของผิว
ปัญหาผิวแห้งมีต้นเหตุจากปัจจัยมากมายหลายประการ เป็นต้นว่า จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ส่วนผสมของสารในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น สบู่ แชมพู ผงซักฟอก ยาสีฟัน จนถึงสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน ฯลฯ
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ทำไมปฏิกิริยาตอบสนองในรูปของภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่งกลับไม่เกิดกับคนอื่น แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า คนที่มีปัญหาผิวแพ้ง่ายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเห็นได้ชัดจะมีแนวโน้มว่าเกิดจากพันธุกรรม ดังนั้นถ้าพบว่าตัวคุณเกิดอาการคันยิบๆ ซึ่งน่าจะมาจากแพ้ผงซักฟอกที่ใช้อยู่ พอจะสรุปได้ว่าหนึ่งในบรรพบุรุษของคุณก็น่าจะแพ้ผงซักฟอกเหมือนกัน
ลักษณะของผิวแพ้ง่าย
อาการของผิวที่แพ้แสดงออกได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของการแพ้ แต่ปัจจัยที่พบเห็นเด่นชัดและบ่อยที่สุดคือ ผื่นแดง ตุ่มพองตกสะเก็ด แสบ คัน และผิวหนังอักเสบ วิธีง่ายๆ ที่จะสังเกตว่าผิวมีอาการแพ้หรือไม่ ดูได้จากผื่นแดง ที่อยู่ดีๆ ก็ปรากฏบนผิว ซึ่งบางครั้งจะรวมอาการคันและอักเสบไว้ด้วยกัน ผิวอักเสบจะมีลักษณะเห่อเป็นปื้นหนา แดง แตก และบางครั้งอาจมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลซึมออกมา ส่วนอาการคันจะแสดงออกมาใกล้เคียงกันในรูปของผื่นแดง แต่จะขึ้นเป็นปื้นบางๆ
สิ่งกระตุ้นทำให้ผิวเกิดอาการแพ้
ขึ้นอยู่กับประเภทอาการแพ้ของผิวที่คุณเป็นอยู่ ผิวอักเสบ มีสาเหตุหลักจากการขาดความชุ่มชื่นภายในชั้นเนื้อเยื่อผิว และจะแสดงให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงฤดูหนาว ส่วนอาการคันมากคันน้อยที่ผิวนั้น อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายนอกหลายชนิด เป็นต้นว่า เครื่องประดับ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ สารแขวนลอยในอากาศ บางคนอาจมีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ อย่างเช่น แพ้ยาย้อมผม แป้งฝุ่นทาตัว น้ำหอม ยาง โลหะ หรือสารกันบูดที่ผสมอยู่ในของกินของใช้ต่างๆ
การเยียวยารักษา
เมื่อเรารู้วิธีรับมือกับผื่นแดงที่ขึ้นบนผิว แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ใช้สามัญสำนึกที่ยอดเยี่ยมของคุณพิจารณาประเภทจากชนิดของผื่น ถ้าผื่นแดงมีลักษณะแห้ง ให้รีบทามอยเจอร์ไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื่น แต่ถ้าผื่นมีลักษณะเปียกชื้น พยายามดูแลให้แห้ง สิ่งสำคัญหนึ่งที่ไม่ควรทำเวลาผื่นขึ้นก็คือ ห้ามเกา ยิ่งเราเกามากเท่าไหร่ก็จะทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกอักเสบระคายเคืองมากขึ้นเท่านั้น การเกาจะยิ่งทำให้ผื่นขยายตัวมากขึ้น โดยปกติผื่นแดงอาจยุบโดยปราศจากการเยียวยาใดๆ เพียงแค่หลีกเลี่ยงที่จะสัมผัส แพทย์ยังลงความเห็นว่าผู้ที่มีอาการแพ้และคันบ่อยๆ ควรรักษาความสะอาดของเล็บมือ ตัดให้สั้นและห้ามใจไม่ให้เกา นอกจากนี้ยังไม่ควรให้ผื่นที่ขึ้นสัมผัสน้ำหอม ยาย้อมผม สเปรย์หอม ความร้อนหรือเย็นมากๆ สบู่ทั่วไป รวมถึงการสัมผัสน้ำนานๆ
นอกจากนั้นการเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันสกัดจากแร่ธาตุ และลาโนลินแล้วยังควรใช้สบู่และครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมในการปลอบประโลมผิว เช่น โอ๊ตมีล ทาครีมผสมไฮโดรคอร์ดีโซน บริเวณที่ผื่นขึ้นวันละสองครั้ง และหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าภายนอกต่างๆ ที่จะมาสัมผัสผิว ซึ่งอาจไปกระตุ้นให้อาการแพ้กำเริบหนักขึ้น แต่ถ้าหากลองปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล และอาการหนักกว่าเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ตรวจดูอาการและทำการรักษาทันที
เครื่องสำอางที่ทำให้ผิวเกิดอาการแพ้
จากการยืนยันของสถาบันโรคผิวหนังอเมริกันพบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางวันละไม่ต่ำกว่าเจ็ดชนิด ทั้งนี้เพื่อประทินผิว หรือเติมแต่งสีสันให้ดูสวยงาม ส่วนผสมของเครื่องสำอางเหล่านี้แหละที่ทำให้หลายต่อหลายคนเกิดอาการแพ้ ผิวของคนเราจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อเครื่องสำอาง สามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มลักษณะหลักๆ คือ ระคายเคืองและอาการแพ้ ผิวระคายเคืองจะพบได้มากกว่าอาการแพ้ และมักจะพัฒนาจากอาการแสบคันตามบริเวณต่างๆ หรือ เซลล์ผิวหนังถูกทำลายที่รุนแรงมากขึ้น การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนำไปสู่การระคายเคืองอย่างต่อเนื่อง จะปรากฏในรูปกลุ่มอาการต่างๆ บนผิวหนัง เช่น ตุ่มคัน ตกสะเก็ด หรือผื่นแดง ในบางกรณีอาการระคายเคืองธรรมดาๆ อาจพัฒนาไปสู่กลุ่มอาการแพ้รุ่นแรงเจ็ดประเภท โดยเฉพาะผิวหนังที่กระทบกระเทือนจากการเกามาแล้วก่อนหน้า บริเวณที่ผิวบอบบางและไร้ต่อสิ่งเร้า เช่น ผิวรอบดวงตา
ส่วนอาการแพ้จะเกิดขึ้นเมื่อเราสัมผัสกับส่วนผสมเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผิวจะตอบสนองทันที หากแต่ไม่ใช่ในรูปผิวหนังถูกทำลาย กลุ่มอาการแพ้ประกอบด้วยผื่นแดงและคัน จนถึงลมพิษเห่อขึ้นตามร่างกาย ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้จะปรากฏได้ทุกที่ตามร่างกาย แม้ว่าบริเวณนั้นๆ จะไม่เคยสัมผัสครีมดังกล่าวมาก่อนเลยก็ตาม
ทำอย่างไรเพื่อป้องกันอาการแพ้เครื่องสำอาง
โชคไม่ดีที่มีทางเดียวที่คุณจะสามารถรู้ได้ว่าแพ้สารตัวใดในเครื่องสำอาง นั่นคือการลองใช้กับร่างกายหากแต่เป็นการลองทาในบริเวณเล็กๆ ที่ข้อมือหรือข้อศอกแล้วทิ้งไว้ ๒๔ ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการตอบสนองของผิวหนัง
วิธีการอื่นเพื่อป้องกันโอการเสี่ยงที่จะแพ้คือ อ่านฉลากส่วนผสมทั้งหมดที่มีอยู่ในเครื่องสำอางชนิดนั้น ถ้ามีส่วนผสมมากชนิด โอการเสี่ยงที่จะแพ้ต่อสารตัวใดตัวหนึ่งก็ย่อมีมาก ถ้าคุณทราบว่ามีสารตัวที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการแพ้แล้วก็จะได้หลีกเลี่ยงไม่ใช้เครื่องสำอางชนิดนั้น
แต่ก็เป็นไปได้ว่าฉลากของเครื่องสำอางบางครั้งไม่ได้บอกรายละเอียดของส่วนผสมทั้งหมด เนื่องจากผู้ผลิตบางบริษัทไม่ต้องการเผยแพร่สูตรลับของตนเพื่อผลประโยชน์ทางด้านการตลาด และทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ (FDA) ก็ไม่ได้ระบุเป็นกฏไว้ตายตัว ทำให้ผู้ผลิตสามารถกล่าวอ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตนไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ที่ข้างกล่องได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
ในกรณีของการระบุว่า "ปราศจากกลิ่นหอม" หรือ "ไร้กลิ่น" ได้รับการยอมรับในลักษณะที่ว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ และน้ำหอมก็ยังถูกใช้เพื่อกลบกลื่นของสารเคมีอยู่ดี ดังนั้น จึงควรตรวจสอบที่ฉลาก ส่วนผสมต่างๆ จะไล่เรียงตามลำดับความสำคัญ แน่นอนว่าส่วนผสมบรรทัดล่างๆที่มีอยู่น้อยนิดนั่นแหละคือ น้ำหอม ส่วนส่วนผสมที่เป็นจุดขายนั้นจะอยู่บนสุด
รู้จักสารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
จากข้อมูลการวิจัยของสมาคมแพทย์ผิวหนังอเมริกาเหนือ สรุปได้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ผิวเกิดอาการแพ้และระคายเคืองมา จากน้ำหอมและสารกันบูที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอาง ถ้าคุณมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเครื่องสำอาง ก็ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันเสียอย่าง Methyplaraben, Propylparaben และ Buttlyparaben และสำหรับลาโนลินซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของมอยส์เจอร์ไรเซอร์เกือบทุกชนิดก็อาจเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้ใช้บางรายได้เหมือนกัน
ปัจจุบันผู้หญิงเราเสี่ยงกับการแพ้เครื่องสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกขณะ จึงควรสังเกตและอ่านฉลากข้างกล่องอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อมาใช้
ที่มา : Teenpath