13.10.08

โรคกระดูกพรุน


โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ร่วมกับมีความเสื่อมของโครงสร้างภายในของกระดูก ซึ่งส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงทำให้กระดูกหักได้ง่าย
โรคกระดูกพรุนนี้พบได้บ่อยเมื่อสตรีเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดระดูนอกจากนี้ยังพบว่าใน 6 ปีแรกที่สตรีเข้าสู่วัยทองนั้น ความหนาแน่นกระดูกสันหลังจะลดลงถึง 1 ใน 3 ทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกสันหลังยุบตัวจนหลังโกงเนื่องจากกระดูกพรุนได้มากกว่าคนปกตื
ในสตรีวัยเจริญพันธ์ฮอร์โทนเอสโตรเจนมีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์มวลเนื้อกระดูกใหม่มาทดแทนกระดูกเก่าที่เสื่อมสลายไป เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรง ร่างกายจะมีมวลเนื้อกระดูกสูงสุดเมื่ออายุ 25 ปี และความหนาของกระดูกจะคงที่ไปจนถึงอายุ 40 ปี และเริ่มเบาบางลงในวัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 50 ปี เนื่องจากฮฮร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้ความหนาของกระดูกและมวลเนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กระดูกบางลงจนมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุน ทำให้สตรีวัยหมอประจำเดือนมีกระดูกหักง่าย มีอาการปวดตามข้อกล้ามเนื้อ อ่อนเปลี้ย กระดูกส่วนที่เปราะบางและหักง่าย ได้แก่ กระดูกสะโพก ข้อมือและกระดูกสันหลัง ซึ่งถ้ากระดูกสันหลังหัก จะปวดหลังมากและถ้าหักยุบมากอาจกดทับเส้นประสาท ทำให้เป็นอัมพาตได้ กระดูกสะโพกหักจากการหกล้มก้นกระแทกพื้นทำให้เดินไม่ได้ กระดูกข้อมือหักถ้าล้มมือเท้าพื้นเป็นต้น เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อกระดูกหักมากเป็น 3 เท่าของเพศชาย
สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
• การขาดฮอร์โมนเพศในสตรีจากการที่รังไข่หยุดทำงาน• ขาดการออกกำลังกาย• การได้รับแคลเซียมและวิตามินดีน้อยเกินไป• การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น การดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้ว/วัน การรับประทานอาหารเค็มจัดจะทำให้มีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ การดื่มแอลกอฮอล์จะลดอัตราการเสริมสร้างเนื้อกระดูก• การใช้ยาสเตียรอยด์ ยารักษามะเร็ง ยากันชัก ยากันลิ่มเลือดแข็ง หรือได้รับยาฮอร์โมนไธรอยด์ขนาดสูงเป็นเวลานานนอกจากนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน• อายุที่มากขึ้น โดยพบว่า อัตราการเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น• เป็นในชาวเอเชียและคนผิวขาว• มีประวัติโรคกระดูกพรุนหรือหกล้มแล้วมีกระดูกหักง่ายในครอบครัว เช่น มารดา พี่สาว หรือ น้องสาว• มีโรคเรื้อรัง เช่นข้ออักเสบและโรคไต• รูปร่างเล็กและผอมบาง
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
เนื่องจากภาวะโรคนี้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในระยะที่กระดูกโปร่งบางจะยังไม่แสดงอาการจนกระทั่งเป็นมากจนถึงขั้นกระดูกพรุนจึงจะแสดงอาการ ดังนั้น การป้องกันภาวะกระดูกพรุนจึงเป็นการดูแลที่ได้ผลดีมากกว่าการรักษาหลังจากเกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว มีวิธีการป้องกันดังนี้
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที และไม่น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ จะทำให้กระดูกมีความหนาและแข็งแรงมากขึ้น• รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ เช่น นม เนบแข็ง กุ้งแห้ง ปลากรอบ เห็ดหอม ถั่วเหลือง ถั่วแดง เม็ดบัว และผักใบเขียว เช่น ใบชะพลู ผักคะน้า ผักกระเฉด ยอดสะเดา ใบโหระพา ใบมะกรูด เป็นต้น• การป้องกันการขาดฮอร์โมนเพศ โดยปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายและรับฮอร์โมนทดแทนการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้• เอกซเรย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนระยะแรกได้ แต่จะตรวจพบเมื่อความหนาแน่นของกระดูกลดลง 30%• อัลตร้าซาวนด์ใช้ตรวจเบื้องต้น มีความแม่นยำปานกลาง ใช้ตรวจที่ส้นเท้าและข้อมือ• DEXA (Dual Energy X-Ray Absorptiometry) เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่มีความแม่นยำสูง และสามารถตรวจได้หลายตำแหน่ง ได้แก่ กระดูกสะโพก ข้อมือ และกระดูกสันหลัง
การรักษาโรคกระดูกพรุน
ในปัจจุบัน การรักษาโรคกระดูกพรุน มีหลายวิธี เช่น• การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะช่วยให้เกิดการหนาตัวของกระดูกโดยช่วยเสริมสร้างการเพิ่มเนื้อกระดูกใหม่เมื่อให้ร่วมกับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ รวมทั้งมีการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น• การใช้ฮอร์โมนแคลซิโทนิน• การให้ยาประเภทแคลเซียมร่วมกับนาประเภทกระตุ้นให้การสร้างเสริมกระดูก
..........................................................................................................................................
ที่มา : แผ่นพับ แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์